ศูนย์ออกแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์และการประมวลสัญญาณ

ในปัจจุบัน การสร้างผลงานการวิจัย หรือ นวัตยกรรม เชิงวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการนำความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งมาประยุกต์สร้างผลงานดังกล่าว แต่เป็นการนำความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่แตกต่างกันมาร่วมกันสร้างผลงานเชิงวิศวกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านการศึกษา และด้านอุตสาหกรรรม รวมไปถึงผลกระทบที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านเศรษศาสตร์ และด้านสังคมศาสตร์ ซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ จากเหตุผลข้างต้น กลุ่มนักวิจัยด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของงานวิจัยและพัฒนาด้านการออกแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์และการประมวลสัญญาณ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อเป็นการผลักดันงานวิจัยในด้านดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด รวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพของนักวิจัยในกลุ่มสาขาดังกล่าว โดยให้ร่วมกันทำงานวิจัยภายใต้บรรยากาศการระดมความคิดและความรู้จากสาขาวิชาที่แตกต่างกัน กลุ่มนักวิจัยฯ จึงได้มีความเห็นร่วมกันในการรวมกลุ่มนักวิจัยจากสาขาต่างๆ โดยประกอบด้วย 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
- กลุ่มวิจัยด้านการออกแบบระบบดิจิตอล
- กลุ่มวิจัยด้านการประมวลสัญญาณ
- กลุ่มวิจัยด้านการสื่อสาร
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นศูนย์วิจัยด้านการออกแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการประมวลสัญญาณของมหาวิทยาลัยฯ
- เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักวิจัย ให้เป็นมีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการประมวลสัญญาณ รวมไปถึงการเพิ่มศักยภาพในการทำงานร่วมกันเป็นทีม ที่จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญที่แตกต่างในการสร้างสรรค์งานวิจัยด้านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการประมวลสัญญาณ
- เพื่อสร้างผลงานวิชาการ ด้านการออกแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการประมวลสัญญาณ ให้กับมหาวิทยาลัยฯ โดยการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในวารสารทางวิชาการ หรือในการประชุมวิชาการ
- เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการประมวลสัญญาณ ให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ ทั้งระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา
- เพื่อเป็นศูนย์สำหรับการเผยแพร่องค์ความรู้และการให้บริการวิชาการด้านการออกแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการประมวลสัญญาณ
เป้าหมาย
- เพื่อพัฒนาศักยภาพของอาจารย์และสร้างผลงานวิชาการ ด้านการออกแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการประมวลสัญญาณ
- เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาระดับปริญญาโท และ ปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
- เพื่อผลิตผลงานเชิงวิชาการ ทั้งในรูปแบบของบทความวิชาการ สำหรับวารสารวิชาการระดับนานาชาติ และการประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับประเทศ
- เพื่อผลิตผลงานวิชาการ หรือ นวัตกรรมเชิงวิศวกรรมศาสตร์ ในรูปแบบของชุดต้นแบบ (prototype) ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการทำประชาสัมพันธ์เชิงวิชาการ หรือ ชุดต้นแบบสำหรับนำเสนอต่อภาคอุตสาหกรรม
- เพื่อเป็นศูนย์ให้บริการวิชาการด้านการออกแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์ และการประมวลสัญญาณ
ตัวอย่างหัวข้องานวิจัยของศูนย์
- Intelligent Systems
- Embedded systems
- Field-Programmable Gate Arrays (FPGA)
- Reconfigurable systems
- Parallel computing
- Design automation
- Optimization
- Computer arithmetic
- Adaptive Signal Processing for Communication
- Image Processing
- Pattern Recognition and Voice Recognition Algorithms
- CMOS Image Sensors
- High efficiency RF power amplifier
- Microwave active filter
- Low phase noise oscillator
- Audio Electronic
- Green Electronic


